search

รวมบทความของฮิโตะ ชไตเยิร์ล: ประเด็นชั่ยๆ ของยุคสมัยในความเกี่ยวดองของ #เทคโนโลยี #ศิลปะ และ #การทหาร

490 บาท
ไม่มีภาษี

ในโลกศิลปะร่วมสมัย คงไม่มีใครไม่รู้จักชื่อฮิโตะ ชไตเยิร์ล (Hito Steyerl) เธอเป็นทั้งนักทฤษฎีและเป็นนักปฏิบัติไปพร้อมๆ กัน หรือบางคนก็เรียกเธอว่า ‘นักทฤษฎีในฐานะศิลปิน’ และ ‘ศิลปินในฐานะนักทฤษฎี’ ทั้งงานเขียนและงานศิลปะของเธอมักพูดถึงประเด็นต่างๆ ที่เกิดขึ้น ณ ขณะหนึ่งในโลกร่วมสมัย ทั้งในด้านการเมือง สังคม เทคโนโลยี และวัฒนธรรม ยิ่งไปกว่านั้น งานของเธอยังพูดถึงบทบาทหน้าที่ของสื่อในยุคโลกาภิวัฒน์ การแพร่กระจายของสื่อและวัฒนธรรมที่พ่วงไปกับสื่อนั้นในยุคดิจิทัลจนไปถึงสงคราม และเทคโนโลยีทางการทหาร

จำนวน

นักเขียน
ฮิโตะ ชไตเยิร์ล | Hito Steyerl

ภาษา | language
แปลจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย (English to Thai)

นักแปล
อธิป จิตตฤกษ์
เก่งกิจ กิติเรียงลาภ และ พนา กันธา
จุฑา สุวรรณมงคล

บรรณาธิการต้นฉบับ
มุกดาภา ยั่งยืนภราดร

กองบรรณาธิการ
ชญานิน ไทยจงรักษ์
การัณยภาส ภู่ยงยุทธ์
รัตนาภร เหล่าลิ้ม

รูปเล่ม และฉบับออนไลน์สำหรับอ่านฟรี
ธีธัช ธัญกิจจานุกิจ

บรรณาธิการบริหาร
จุฑา สุวรรณมงคล

ผู้จัดพิมพ์
ซอย เพรส

วันที่จัดพิมพ์ | publishing date
ธันวาคม 2563 | December 2020

ISBN
978-616-93637-0-5

Hito

ข้อมูลสินค้า

ภาษา | language
ไทย
ขนาดหนังสือ | Book Size
12.9 * 20.5 cm
กระดาษหน้าปก | Cover Paper
Goya White (Paperback)

เกี่ยวกับนักเขียน

ฮิโตะทำงานในฐานะนักทฤษฎีและศิลปิน ขนานกันโดยเชื่อมร้อยสองทางด้วยงานค้นคว้าเชิงลึกที่เจืออารมณ์ขัน คำถามสำคัญของฮิโตะคือการเมืองของภาพ การสร้างภาพแทน และการรับรู้ ‘ความจริง’ ผ่านประสบการณ์ทางสายตา ปรากฏการณ์ต่างๆ ในยุคร่วมสมัยจึงถือเป็นสมรภูมิสำคัญของภาพและข้อมูลที่ไหลบ่าอย่างไม่ขาดตอน ทั้งนี้ การรับรู้ทางสายตาไม่ได้จบแค่ในตัวมันเอง แต่ยังพาผู้อ่าน/ผู้ชมเดินข้ามพาดไปแตะมือกับมุมมองหลังยุคอาณานิคม เฟมินิสม์ ทุนนิยมโลกาภิวัตน์ การควบคุมทางการเมืองผ่านกลไกทางศิลปะ และศิลปะในฐานะเครื่องมือการก่อร่างสร้างความรับรู้

ประสบการณ์กับสื่อภาพยนตร์ครั้งแรกของฮิโตะคือการทำงานเป็นสตั๊นท์ในวัย 16 ปี และเธอถูกไล่ออกจากโรงเรียนในปีเดียวกันนั้นเอง แม้เป็นเด็กที่เรียนไม่จบชั้นมัธยม ฮิโตะกลับได้เข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยศิลปะแห่งกรุงโตเกียว (the Tokyo University of Arts) เพื่อศึกษาต่อด้านการถ่ายทำภาพยนตร์ (cinematography) และการผลิตงานภาพยนตร์สารคดี (documentary filmmaking) ในช่วงปี 1987-1990 ต่อมาเธอจึงได้ทำงานเป็นผู้ช่วยผู้กำกับของวิม เวนเดอร์ส (Wim Wenders) สำหรับภาพยนตร์เรื่อง Until the End of the World (1991) ในช่วงกลางทศวรรษที่ 1990 ฮิโตะกลับเข้าไปเรียนในสาขาวิชาการผลิตงานภาพยนตร์สารคดีอีกครั้ง โดยครั้งนี้เธอได้เรียนที่มหาวิทยาลัยแห่งโทรทัศน์และภาพยนตร์ ณ เมืองมิวนิค (Hochschule für Fernsehen und Film München) หลังจากนั้นในปี 2003 เธอจึงเรียนจบปริญญาเอกทางปรัชญาที่วิทยาลัยแห่งศิลปะ ณ กรุงเวียนนา (the Academy of Fine Arts Vienna)

ปัจจุบัน ฮิโตะเป็นอาจารย์สอนอยู่ที่ภาควิชานิวมีเดีย (New Media) ในมหาวิทยาลัยศิลปะแห่งกรุงเบอร์ลิน (Berlin University of the Arts)